วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2560

ประวัติกรีฑา


          กรีฑาถือได้ว่าเป็นกีฬาที่เก่าแก่ ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษย์ เนื่องจากในสมัยก่อนมนุษย์ต้องอาศัยการวิ่งในการอยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งเร็วเพื่อให้พ้นจากสัตว์ร้าย วิ่งไล่เพื่อจับสัตว์เอาไว้เป็นอาหาร ฯลฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับปัจจุบัน ก็เปรียบเสมือนการวิ่งในประเภทต่าง ๆ  นอกจากการวิ่งแล้ว ในยุคก่อนยังมีการกระโดด การใช้อาวุธต่าง ๆ ซึ่งนั้นก็เป็นที่มาของกีฬากรีฑาหลากหลายประเภทนั่นเอง




► ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกรีฑา

                                          ประวัติกรีฑา
       เชื่อกันว่า ต้นกำเนิดของกรีฑานั้น เริ่มมากจากชาวกรีกโรมัน เมื่อประมาณ 776 ปีก่อนคริสตศักราช โดยเจ้าเมืองนั้นอยากให้พลเมืองของกรีกมีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรงเพื่อรับใช้ประเทศได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ในสมัยก่อนเชื่อว่า มีเทพเจ้าสถิตอยู่บนเขาโอลิมปัสพยายามทำตัวให้เป็นที่โปรดปราน ด้วยการทำพิธีกรรมบวงสรวงต่างๆ พร้อมเล่นกีฬาถวาย ณ ลานเชิงเขาโอลิมปัสแคว้นอีลิส เพื่อให้เกียรติแก่เทพเจ้า โดยมีกีฬาที่ชาวกรีกเล่นนั้น มี 5 ประเภท คือ การวิ่งแข่ง การกระโดด มวยปล้ำ พุ่งแหลน ขว้างจักร ทั้งนี้ เป็นที่สังเกตได้ว่า นอกจากกีฬามวยปล้ำแล้ว กีฬาทั้ง 4 ชนิด ล้วนแต่เป็นกีฬากรีฑาทั้งสิ้น นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการแข่งขันติดต่อกันมาเป็นเวลานานกว่า 1,200 ปี เลยทีเดียว

         ต่อมากรีกเสื่อมอำนาจลง และตกอยู่ภายใต้อำนาจของชาวโรมัน การกีฬาของกรีกเลยเสื่อมลงตามลำดับ ใน พ.ศ. 936 (ค.ศ. 393) เนื่องจากจักรพรรดิธีโอดซีอุส แห่งโรมัน มีคำสั่งให้ยกเลิกการเล่นกีฬา ทั้ง 5 ประเภท เพราะเห็นว่าประชาชนเล่นกีฬาเพื่อการพนัน ไม่ได้เล่นเพื่อสุขภาพแต่อย่างใด และนับตั้งแต่นั้นกีฬาโอลิมปิกก็ได้ยุติเป็นระยะเวลานานกว่า 15 ศตวรรษ

         หลังจากนั้น ก็ได้มีบุคคลสำคัญ กลับมารื้อฟื้นให้กีฬาโอลิมปิกกลับมาเริ่มอีกครั้ง โดยบารอนปีแอร์เดอคูแบร์แตง(BaronPierredeCoubertin) ชาวฝรั่งเศส ซึ่งเขาได้ชักชวนบุคคลคนสำคัญของชาติต่างๆ เข้ามาร่วมประชุมเพื่อแข่งขันกีฬาร่วมกัน โดยให้จัดการแข่งขัน 4 ปี ต่อ 1 ครั้ง  พร้อมระบุข้อตกลงในการเล่นกีฬากรีฑาเป็นหลักของการแข่งขัน เพื่อเป็นเกียรติและอนุสรณ์แก่ชาวกรีกในสมัยโบราณ ผู้ริเริ่มกีฬาโอลิมปิก ทั้งนี้ กีฬาโอลิมปิกได้เริ่มแข่งขันขึ้นอีกครั้ง ใน พ.ศ.2439 (ค.ศ. 1896) ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีก


► ประวัติความเป็นมาของกรีฑาในประเทศไทย



        ผู้ริเริ่มให้มีการแข่งขันกรีฑาในประเทศไทยนั้นก็ คือ กระทรวงธรรมการ (ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) ที่ได้จัดให้มีการแข่งขันกรีฑาระดับนักเรียน ครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2440 ณ ท้องสนามหลวง โดยมีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน มาทรงเป็นองค์ประธานเปิดการแข่งขันกรีฑานักเรียนเป็นประจำทุกปี และได้จัดตั้งให้มีสมาคมกรีฑาสมัครเล่นประเทศไทยขึ้น

อ้างอิง : https://hilight.kapook.com/view/72001

ประเภทของกรีฑา

1. กรีฑาประเภทลู่ 


         กรีฑาประเภทลู่เป็นกรีฑาที่ต้องแข่งขันกันบนทางวิ่งหรือลู่วิ่งตลอดระยะทาง ใช้การวิ่งเป็นสำคัญตัดสินแพ้ชนะกันด้วยเวลาการแข่งขันที่นิยมกันทั่วไปมี ดังนี้

          1.1 ) การวิ่งระยะสั้น หมายถึง การวิ่งในระยะทางไม่เกิน 400 เมตร นับจากจุดเริ่มต้นจนถึงเส้นชัย ซึ่งจะต้องวิ่งในลู่ของตนเองตลอดระยะทาง โดยแบ่งระยะทางวิ่งออกเป็น 60, 80, 100, 200 และ 400 เมตร

          1.2) การวิ่งระยะกลาง หมายถึง การวิ่งในระยะทางตั้งแต่ 800 เมตรขึ้นไป แต่ไม่เกิน 1,500 เมตร


          1.3) การวิ่งระยะไกล หมายถึง การวิ่งในระยะทางมากกว่า 1,500 เมตรขึ้นไป และการวิ่งมาราธอน (42.195 เมตร )

          1.4) การวิ่งผลัด หมายถึง การแข่งขันที่แบ่งเป็นชุด ๆ แต่ละชุดมีจำนวนผู้แข่งขันเท่า ๆ กัน มีดังนี้...

          การวิ่งผลัดระยะทางเท่ากัน หมายถึง ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนในชุดเดียวกันต้องวิ่งในระยะทางเท่ากัน เช่น 5 x 80, 8 x 50, 4 x100,4 x 200, 4 x 400 เมตร เป็นต้น
          การวิ่งผลัดต่างระยะ หมายถึง ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนในชุดเดียวกัน วิ่งในระยะทางไม่เท่ากัน เช่น 80 x 120 x 120 x 80 เมตร เป็นต้น


          1.5) การวิ่งข้ามรั้ว หมายถึง การวิ่งตามลู่วิ่งข้ามสิ่งกีดขวางความสูง และจำนวนรั้วที่ใช้แข่งขันในแต่ละประเภทแตกต่างกันไป เช่น วิ่งข้ามรั้ว 100 ,110,400 เมตร เป็นต้น

2. กรีฑาประเภทลาน 


          กรีฑาประเภทลาน เป็นกรีฑาที่ต้องแข่งขันกันในสนาม ตัดสินแพ้ชนะกันด้วยระยะทาง  อาจเป็นความไกลหรือความสูง โดยแบ่งประเภทการแข่งขัน ดังนี้


        2.1) ประเภทที่ตัดสินด้วยความไกล ได้แก่ กระโดดไกล เขย่งก้าวกระโดด ทุ่มลูกน้ำหนัก ขว้างค้อน ขว้างจักร และพุ่งแหลน


       2.2) ประเภทที่ตัดสินด้วยความสูง ได้แก่ กระโดดสูง และกระโดดค้ำ

3. กรีฑาประเภทผสม 

         กรีฑาประเภทผสมเป็นการแข่งขันที่นำกรีฑาประเภทลู่ และลานบางส่วนผสมกัน แบ่งประเภทการแข่งขัน ดังนี้

          3.1) ประเภทชาย มีกรีฑาประเภทผสมให้เลือกแข่งขันได้ 2 แบบ ดังนี้
          ปัญจกรีฑา ประกอบด้วยการแข่งขัน 5 รายการ ทำการแข่งขันภายในวันเดียว ตามลำดับ คือ กระโดดไกล, พุ่งแหลน , วิ่ง 200 เมตร, ขว้างจักร และวิ่ง 1,500 เมตร
          ทศกรีฑา ประกอบด้วยการแข่งขัน 10 รายการ ทำการแข่งขัน 2 วัน ติดต่อกันตามลำดับ ดังนี้
          วันที่หนึ่ง :  วิ่ง 100 เมตร กระโดดไกล ทุ่มลูกน้ำหนัก กระโดดสูง และวิ่ง 400 เมตร

          วันที่สอง :  วิ่งข้ามรั้ว 110 เมตร ขว้างจักร กระโดดค้ำ พุ่งแหลน และวิ่ง 1,500 เมตร

          3.2) ประเภทหญิง มีการแข่งขันเพียงแบบเดียว คือ สัตตกรีฑา ประกอบด้วยการแข่งขัน   7 รายการ ทำการแข่งขัน 2 วัน ติดต่อกันตามลำดับ ดังนี้
          วันที่หนึ่ง :  วิ่งข้ามรั้ว 100 เมตร, กระโดดสูง, ทุ่มลูกน้ำหนัก และวิ่ง 200 เมตร
          วันที่สอง :  กระโดดไกล, พุ่งแหลน และวิ่ง 800 เมตร

          สำหรับกรีฑาประเภทผสมนั้น ผู้ชนะ คือ ผู้ที่สามารถทำคะแนนสูงสุดในการแข่งขัน ถ้าไม่เข้าแข่งขันหรือไม่ทำการประลองแม้แต่ครั้งเดียวให้ถือว่าเลิกการแข่งขัน
          
อ้างอิง : https://sites.google.com/site/phlsuksakritha/kritha/prapheth-khxng-kritha

กติกากรีฑา

 การแข่งขันประเภทลู่ ประกอบไปด้วย... 

การแข่งขันวิ่ง
          1. ประเภทวิ่ง 100 เมตร, 200  เมตร, 400 เมตร, ข้ามรั้ว 100 เมตร, ข้ามรั้ว 110 เมตร 
         2. ประเภทวิ่ง 400 เมตร, 800 เมตร, วิ่งผลัด 4x100 เมตร, วิ่งผลัด 4x400 เมตร 
         3. ประเภท 1,500 เมตร 
         4. ประเภท 3,000 เมตร, วิ่งวิบาก 3,000 เมตร
         5. ประเภท 5,000 เมตร

         6. ประเภท 10,000 เมตร


► การแข่งขันวิ่งผลัด

         1. เขตรับส่งไม้คทามีระยะทาง 20 เมตร โดยถือไม้คทาเป็นเกณฑ์ไม่เกี่ยวกับขา แขน ลำตัวของนักกีฬา
         2. การแข่งขันวิ่งผลัด 4x200 เมตร นักกีฬาคนที่ 1 และ คนที่ 2จะต้องวิ่งช่องวิ่งของตนเองเท่านั้น คนที่ 3 จะวิ่งในช่องวิ่งของตนเองจนกระทั่งถึงเส้นตัด (เส้นโค้งแรกประมาณ 120 เมตร)
      3. การแข่งขันวิ่งผลัด 4x400 เมตร คนที่ 1 วิ่งในช่องวิ่งของตนเองเท่านั้น คนที่ 2 วิ่งในช่องวิ่งของตนเอง จนกระทั่งถึงเส้นตัด ซึ่งอยู่ในแนวเส้นชัย คนที่ 3 และ 4 จะยืนคอยรับในเขตรับระยะรวมเท่านั้น เมื่อนักกีฬาทีมใดวิ่งมาถึงจุด 200 เมตร ก่อน ทีมนั้นจะสามารถยืนคอยรับคทาจากด้านในของลู่วิ่งเรียงตามลำดับออกมา
          4. ถือไม้คทาด้วยมือตลอดการแข่งขัน หลังส่งไม้คทาแล้วควรอยู่ในช่องวิ่งของตนเอง หรือภายในเขตรับส่งจนกว่าทางวิ่งจะไม่มีนักกีฬา
          5. สามารถเปลี่ยนนักกีฬาได้ 2 คนจะต้องมีรายชื่อในการแข่งขันครั้งนั้น
          6. กรณีการแข่งขันวิ่งผลัด 4x100 เมตร, 4x400 ถ้ามีทีมแข่งขันไม่เกิน 5 ทีม ให้ไม้แรกวิ่งโค้งเดียว แล้วตัดเข้าช่องในได้


การแข่งขันวิ่งข้ามรั้ว


            นักกีฬาจะต้องวิ่งข้ามรั้วทั้งหมด 10 ครั้ง ตลอดระยะทางการแข่งขัน
          สิ่งต้องห้าม :  วิ่งข้ามรั้วเพียงขาข้างเดียว และห้ามใช้มือผลักดันรั้วหรือใช้ขาเจตนาถีบรั้วให้ล้ม

 การแข่งขันประเภทลาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้  
          1. การแข่งขันประเภทกระโดด ได้แก่ กระโดดสูง, เขย่งก้าวกระโดด, กระโดดสูง, กระโดดค้ำถ่อ
          2. การแข่งขันประเภททุ่ม พุ่ง ขว้าง ได้แก่ ทุ่มน้ำหนัก, ขว้างจัก, ขว้างฆ้อน, พุ่งแหลน

การแข่งขันกระโดดไกล


          การแข่งขัน นักกีฬากระโดดในขั้นที่ดีที่สุดของแต่ละคน จะถือเป็นสถิติ รวมทั้งตัดสินเสมอกันของอันดับที่ 1 ด้วย นักกีฬากระโดดลงในบ่อทรายแล้วต้องออกไปข้างหน้าหรือด้านข้างเท่านั้น

การแข่งขันเขย่งก้าวกระโดด
          ประกอบด้วยเขย่ง การก้าว และการกระโดด การเขย่งจะต้องใช้เท้าเดียวกับที่เหยียบกระดานลงสู่พื้น
          จะต้องกระโดดด้วยเท้าข้างเดียว สามารถกระโดดได้ไม่เกิน 3 ครั้ง จะหมดสิทธิ์ในการแข่งขันความสูงต่อไป นักกีฬาที่ชนะเลิศสามารถเลือกความสูงได้ตามต้องการ

การแข่งกระโดดค้ำถ่อ


         หากกระโดดไม่ผ่าน 3 ครั้ง ถือว่าหมดสิทธิ์ ห้ามใช้ผ้ายางพันมือหรือนิ้วมือ ยกเว้นบาดเจ็บการแข่งขันในขั้นที่ดีที่สุดถือว่าเป็นสถิติ 
   

การแข่งขันทุ่มน้ำหนัก


         นักกีฬาเข้าแข่งขันมากกว่า 8 คน การแข่งขันคนละ 3 ครั้ง ผู้ทำสถิติดีที่สุดทำการแข่งขันรอบสุดท้ายถ้าไม่เกิน 8 คน คนละ 6 ครั้ง ทำการฝึกซ้อมได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ต้องทุ่มภายในบริเวณวงกลม ลูกน้ำหนักต้องทุ่มออกไปจากไหล่ด้วยมือข้างเดียว โดยลูกน้ำหนักต้องสัมผัสหรืออยู่ชิดคาง และมือต้องไม่ลดต่ำกว่าไหล่เลยไปด้านหลัง ขณะจะทุ่มลูกน้ำหนักออกไป


      การฟาล์ว เมื่อเข้าไปในวงกลมเพื่อทำการทุ่มแล้วสัมผัสภายนอกวงกลมหรือขอบบนของไม้ขวาง หรือขอบบนไม้ขวางหรือขอบบนของวงกลม จะต้องวางอุปกรณ์ไว้ด้านนอกหรือภายในวงกลมแล้วเดินออกด้านหลัง
  1. ห้ามใช้ผ้ายางพันนิ้ว มือ 2 นิ้วหรือมากกว่าเข้าด้วยกันยกเว้นบาดเจ็บ
  2. ห้ามสวมถุงมือ 
  3. ห้ามฉีดสเปรย์หรือสารบางอย่างในวงกลมหรือรองเท้า
  4. สามารถใช้สารทามือได้ 
  5. สามารถคาดสายเข็มขัดหนังหรืออุปกรณ์อื่นที่จำเป็นว่าเหมาะสม เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ ของกระดูกได้
  6. ลูกน้ำหนักต้องอยู่ภายในเส้นรัศมี และต้องไม่ออกจากวงกลมจนกว่าลูกทุ่มน้ำหนักจะตกถึงพื้น


การขว้างจักร


        จักรจะต้องตกภายในเส้นรัศมีเท่านั้น ห้ามออกนอกวงกลม จนกว่าจักรจะตกถึงพื้นครั้งแรกสมบูรณ์แล้ว และต้องไม่ฉีดสเปรย์หรือสารบางอย่างในวงกลมหรือรองเท้า ห้ามใช้ผ้ายางพันนิ้ว มือ 2 นิ้วหรือมากกว่าเข้าด้วยกันยกเว้นบาดเจ็บ สามารถคาดสายเข็มขัดหนังหรืออุปกรณ์อื่นที่จำเป็นว่าเหมาะสม เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกระดูกได้ ส่วนจักรที่ขว้างออกไปแล้ว ห้ามขว้างกลับมาให้ถือกลับมาที่วงกลม และห้ามออกนอกวงกลมจนกว่าจักรถึงเส้น


การขว้างฆ้อน


         ฝึกซ้อมได้ไม่เกิน 2 ครั้ง การขว้างเริ่มจากในวงกลม เมื่อเหวี่ยงสัมผัสพื้นดิน หรือขอบของวงกลมจะไม่ถือว่าฟาล์ว แต่ถ้าหลังจากสัมผัสพื้นดินหรือขอบเหล็กแล้วเขาหยุดการหมุนจะถือว่าฟาล์ว เมื่อเข้าไปในวงกลมห้ามสัมผัสพื้นดินนอกหรือขอบวงกลมจะถือว่าฟาล์ว ถ้าเกิดหลุดหรือขาดกลางอากาศไม่ถือว่าฟาล์ว ส่วนถ้าเสียหลักจนเกิดการฟาล์ว จะถือว่าการประลองครั้งนั้นไม่นับเช่นกัน ตัวฆ้อนต้องตกภายในรัศมี ห้ามออกนอกวงกลมจนกว่าฆ้อนจะตกถึงพื้น นอกจากนี้ อุปกรณ์ที่ขว้างไปแล้วห้ามขว้างกลับให้ถือกลับมา


การพุ่งแหลน


  • ต้องจับตรงที่จับ การพุ่งจะต้องพุ่งออกไปเหนือไหล่หรือเหนือแขนท่อนบน 
  • ห้ามใช้วิธีเหวี่ยงหรือขว้าง หรือมุ่งด้วยท่าพลิกแพลงอื่น ๆ
  • การที่หัวแหลนที่เป็นโลหะไม่ได้ถูกพื้นก่อนส่วนอื่น ๆ ของแหลน ถือว่าการแข่งขันไม่มีผล 
  • หากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือแขนขา ถูกไม้โค้งหรือเส้นที่ลากต่อจากปลายของส่วนโค้ง ถือว่าการแข่งขันไม่ได้ผล 
  • หากแหลนหักในระหว่างพุ่งให้ทำการแข่งขันใหม่แหลนพุ่งแล้วห้ามพุ่งกลับ


การแข่งขันเดิน


          ลักษณะการเดินที่ถูกต้อง ก่อนยกเท้าหลังจากพื้นเท้าหน้านำ ต้องสัมผัสพื้นก่อนด้วยส้นเท้า เมื่อเท้าหน้านำ สัมผัสพื้นแล้วต้องตึงชั่วขณะจนกว่าจะอยู่แนวตั้งฉากกับลำตัว


► การตัดสิน

          นักกีฬาผู้ได้คะแนนสูงสุดเป็นผู้ชนะ ถ้าเสมอกันให้ผู้เข้าแข่งขันมากประเภทกว่าเป็นผู้ชนะ ถ้ายังเสมอกันอยู่อีก ก็ให้ถือคะแนนที่มากกว่าในประเภทใดประเภทหนึ่งเป็นผู้ชนะ ส่วนนักกีฬาใดไม่ประลองในประเภทใดประเภทหนึ่ง ให้ถือว่าหมดสิทธิ์ในการแข่งขันต่อไป ต้องออกจากสนามทันที
อ้างอิง : https://hilight.kapook.com/view/72001

ประโยชน์ของกรีฑา

► ประโยชน์ทางด้านร่างกาย

   1. ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางด้านร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง สมบูรณ์ มีความคล่องแคล่วว่องไวมีความทรหดอดทน
   2. ช่วยเสริมบุคลิกภาพให้เป็นผู้สง่างามสมส่วน สง่าผ่าเผย การทรงตัวดี
   3. ช่วยให้อวัยวะและระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เช่น ระบบการหมุนเวียนโลหิต ระบบหายใจ ระบบย่อยอาหาร
   4. ช่วยให้ร่างกายมีความอดทน ทำงานได้นาน เหนื่อยช้าและหายเหนื่อยเร็ว
   5. ช่วยระบายพลังงานส่วนเกินออกไปในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น
   6. ช่วยให้ร่างกายมีความต้านทานโรคได้ดี

► ประโยชน์ทางด้านจิตใจและอารมณ์

   1. ช่วยให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความกล้าในการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
  2. ช่วยทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน เร้าใจและตื่นเต้น
  3. ช่วยให้มีอารมณ์และจิตใจแจ่มใส ร่าเริง
  4. ช่วยระบายความตึงเครียด หลังจากที่ตรากตรำจากการทำงาน
  5. ช่วยให้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้รู้ชนะและรู้อภัย

► ประโยชน์ทางด้านสังคม

  1. ช่วยให้เป็นผู้มีระเบียบวินัย ปฏิบัติตามกฏระเบียบ กติกาอย่างเคร่งครัด
  2. ช่วยแก้ปัญหาของสังคม โดยการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
  3. ช่วยให้สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี
  4. ช่วยก่อให้เกิดสัมพันธไมตรี และความสามัคคีระหว่างผู้เล่นทั้งสองฝ่าย
  5. ช่วยก่อให้เกิดสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศโดยใช้การแข่งขันกรีฑาเป็นสื่อท่าทางการวิ่ง

มารยาทที่ดีในการเล่นและชมกรีฑา

       กรีฑาเหมือนกับกีฬาชนิดอื่นๆตรงที่ ผู้เล่นต้องมีมารยาทในการเล่น และผู้ชมต้องมีมารยาทในการชม เช่นเดียวกันนอกจากทำให้การแข่งขันดำเนินไปด้วยดีแล้ว ยังเป็นการปลูกฝังคุณธรรม ให้กับผู้เล่น และผู้ชมสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการดำรงชีวิตในสังคมได้เป็นอย่างดี ผู้เล่นและผู้ชมกรีฑาที่ดีจึงควรปฏิบัติตน ดังนี้


        1) มารยาทของผู้เล่นที่ดี ควรปฏิบัติดังนี้

        แต่งกายด้วยชุดที่เหมาะสมกับการล่นกรีฑา มีกิริยาวาจาสุภาพเรียบร้อย มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเพื่อนร่วมทีมและผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม เคารพเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของผู้สอนเคารพเชื่อฟังคำตัดสินของกรรมการผู้ตัดสินตลอดเวลา ปฏิบัติตามกฎ กติกาอย่างเคร่งครัด ไม่แสดงกิริยาอาการไม่พอใจ หากเพื่อนร่วมทีมเล่นผิดพลาด เมื่อชนะหรือแพ้ไม่ควรแสดงความดีใจหรือเสียใจจนเกินไป ก่อนและหลังการแข่งขันควรแสดงความเป็นมิตรกับผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามด้วยการทักทายหรือจับมือแสดงความยินดี ไม่ควรยืมอุปกรณ์การเล่นของคนอื่นมาใช้ฝึกซ้อม

        2) มารยาทของผู้ชมที่ดี ควรปฏิบัติดังนี้

        ไม่กล่าวถ้อยคำหรือแสดงกิริยาเยาะเย้ยถากถางผู้เล่นที่เล่นผิดพลาด แสดงความยินดีกับผู้เล่นที่เล่นดี เช่น การปรบมือ เป็นต้น ไม่กระทำตัวเป็นผู้ตัดสินเสียเอง เช่น ตะโกนแย้งคำตัดสิน เป็นต้น
       ไม่เชียร์ในสิ่งที่เป็นการส่อเสียดในทางไม่ดีต่อผู้เล่นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ไม่กระทำสิ่งใด ๆ ที่ทำให้ผู้ติดสินหรือเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ปฏิบัติงานไม่สะดวก ไม่กระทำสิ่งใด ๆ อันเป็นการกีดขวางการเล่นของผู้เล่น

สนามกรีฑา

         สนามกรีฑา 400 เมตร  คือ สนามที่มีทางวิ่งเป็นวงรอบประกอบด้วยทางวิ่งที่เป็นทางตรง และทางโค้ง  ถ้าวิ่งชิดขอบในสุดโดยห่างจากขอบใน 30 เซนติเมตร (ขอบในทำด้วยคอนกรีตหรือโลหะ) หรือ 20 เซนติเมตร (ขอบในทำด้วยปูนขาวหรือทาด้วยสี)  เมื่อวิ่งครบ 1 รอบ จะได้ระยะทาง 400 เมตร พอดี


► สิ่งควรทราบ

ลู่วิ่ง คือ ทางวิ่งทั้งหมด
ช่องวิ่ง  คือ อาณาเขตที่แบ่งย่อยจากลู่วิ่ง  เป็นช่องวิ่งที่ 1 ช่องวิ่งที่2....ช่องวิ่งที่ 8 มีความกว้างช่องวิ่งละ 1.22 เมตร การวัดความกว้างวัดจากขอบนอกถึงขอบในเส้นของช่องวิ่งกว้าง 5 เซนติเมตร
รัศมีทางวิ่ง คือ รัศมีที่วัดจากจุดศูนย์กลางไปถึงทางวิ่งของช่องวิ่งนั้นๆ

รัศมีขอบใน คือ รัศมีที่วัดจากจุดศูนย์กลางไปถึงขอบในของช่องวิ่งนั้นๆ


ภาพที่ 1 : รัศมีทางวิ่ง รัศมีขอบใน


R1 = รัศมีขอบในช่องวิ่งที่ 1 (ขอบในทำด้วยคอนกรีต หรือโลหะ)
R2 = รัศมีขอบในช่องวิ่งที่ 2
R3 = รัศมีทางวิ่งของช่องวิ่งที่ 1 ห่างขอบใน 30 เซนติเมตร
R4 = รัศมีทางวิ่งของช่องวิ่งที่ 2 ห่างขอบใน 20 เซนติเมตร

อ้างอิง : http://www.dpt.go.th/download/PW/sport_place/space01.html

อุปกรณ์กีฬากรีฑา

► อุปกรณ์ประจำสนามสำหรับประเภทลู่ คือ
       1.บล็อคstart
       2.ธง
       3.นาฬิกาไฟ
       4.ปืนยิงปล่อยตัว
       5.รั้ว
       6.เจ้าหน้าที่ประจำสนาม
       7.กล้องวงจรที่ติดตรงเส้นชัย

  ► อุปกรณ์ประจำสนามสำหรับประเภทลาน คือ
       1.ประเภททุ่ม ลูกทุ่ม ตาข่าย ตลับเมตร กรวย เจ้าหน้าที่ประจำสนาม ป้ายบอกสถิติ
       2.ปะเภทพุ่ง แหลน ตลับเมตร กรวย เจ้าหน้าที่ประจำสนามป้ายบอกสถิติ
       3.ประเภทขว้าง จักร ค้อน ตาข่าย ตลับเมตร กรวย เจ้าหน้าที่ประจำสนาม ป้ายบอกสถิติ
       4.ประเภทกระโดด ไม้ค้ำทอ ไม้กั้นกระโดด เสาวางไม้กั้นกระโดด2เสา เบาะ ตลับเมตร กรวย เจ้าหน้าที่ประจำสนาม ป้ายบอกสถิติ

► อุปกรณ์ประจำสำหรับนักกีฬา
       1.รองเท้า
       2.ประเภทค้ำทอ(ไม้ค้ำของตัวเอง)


วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2560

วิธีการบำรุงรักษาอุปกรณ์กรีฑา

       อุปกรณ์กรีฑามีทั้งของส่วนรวม เช่น รั้วกระโดด จักร ลูกทุ่มน้ำหนัก แหลน เป็นต้น และอุปกรณ์ที่เป็นของส่วนตัว เช่น รองเท้า ที่ยัดเท้า เป็นต้น ดังนั้น จึงควรช่วยกันบำรุงรักษาอุปกรณ์กรีฑา คือ
      
       1. ก่อนใช้ต้องตรวจสอบอุปกรณ์ทุกชนิดให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดีและปลอดภัย ไม่ควรนำอุปกรณ์ที่ชำรุด
ไปใช้
       2. ควรใช้อุปกรณ์ให้ถูกต้องตามชนิดและประเภทของอุปกรณ์แต่ละชนิด
       3. เมื่อนำอุปกรณ์ออกไปใช้แล้ว ก่อนเก็บควรสำรวจตรวจสอบจำนวนและสภาพเรียบร้อยของอุปกรณ์ และทำความสะอาด
       4. ควรมีที่เก็บอุปกรณ์แต่ละประเภทไว้เป็นสัดส่วนในที่ที่เหมาะสมและเป็นระเบียบ
       5. อุปกรณ์ส่วนตัวควรทำความสะอาดทุกครั้งที่ใช้งานเสร็จ
       6. เมื่ออุปกรณ์เกิดชำรุดควรรีบซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยโดยเร็ว และถ้าเกิดชำรุดมากก็ไม่ควรนำออกมาใช้งาน
       7. ควรเก็บอุปกรณ์ไว้ในที่เหมาะสม แยกประเภทเพื่อความสะดวกในการเก็บรักษาและนำไปใช้ในโอกาสต่อไป
       8. เสากระโดดสูงและไม้พาดกระโดดสูง เมื่อใช้แล้วควรเก็บให้เป็นที่เพราะอาจล้มแตกหักได้ง่าย
       9. ไม่ควรขว้างจักรไปถูกของแข็งอย่างอื่นนอกจากพื้นสนามหญ้า เพราะจักรจะแตกได้ง่าย
       10. ควรมีระเบียบในการเบิกจ่ายอุปกรณ์ไปใช้ในการฝึกซ้อม เพื่อจัดระบบในการควบคุมดูแล