วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2560

กติกากรีฑา

 การแข่งขันประเภทลู่ ประกอบไปด้วย... 

การแข่งขันวิ่ง
          1. ประเภทวิ่ง 100 เมตร, 200  เมตร, 400 เมตร, ข้ามรั้ว 100 เมตร, ข้ามรั้ว 110 เมตร 
         2. ประเภทวิ่ง 400 เมตร, 800 เมตร, วิ่งผลัด 4x100 เมตร, วิ่งผลัด 4x400 เมตร 
         3. ประเภท 1,500 เมตร 
         4. ประเภท 3,000 เมตร, วิ่งวิบาก 3,000 เมตร
         5. ประเภท 5,000 เมตร

         6. ประเภท 10,000 เมตร


► การแข่งขันวิ่งผลัด

         1. เขตรับส่งไม้คทามีระยะทาง 20 เมตร โดยถือไม้คทาเป็นเกณฑ์ไม่เกี่ยวกับขา แขน ลำตัวของนักกีฬา
         2. การแข่งขันวิ่งผลัด 4x200 เมตร นักกีฬาคนที่ 1 และ คนที่ 2จะต้องวิ่งช่องวิ่งของตนเองเท่านั้น คนที่ 3 จะวิ่งในช่องวิ่งของตนเองจนกระทั่งถึงเส้นตัด (เส้นโค้งแรกประมาณ 120 เมตร)
      3. การแข่งขันวิ่งผลัด 4x400 เมตร คนที่ 1 วิ่งในช่องวิ่งของตนเองเท่านั้น คนที่ 2 วิ่งในช่องวิ่งของตนเอง จนกระทั่งถึงเส้นตัด ซึ่งอยู่ในแนวเส้นชัย คนที่ 3 และ 4 จะยืนคอยรับในเขตรับระยะรวมเท่านั้น เมื่อนักกีฬาทีมใดวิ่งมาถึงจุด 200 เมตร ก่อน ทีมนั้นจะสามารถยืนคอยรับคทาจากด้านในของลู่วิ่งเรียงตามลำดับออกมา
          4. ถือไม้คทาด้วยมือตลอดการแข่งขัน หลังส่งไม้คทาแล้วควรอยู่ในช่องวิ่งของตนเอง หรือภายในเขตรับส่งจนกว่าทางวิ่งจะไม่มีนักกีฬา
          5. สามารถเปลี่ยนนักกีฬาได้ 2 คนจะต้องมีรายชื่อในการแข่งขันครั้งนั้น
          6. กรณีการแข่งขันวิ่งผลัด 4x100 เมตร, 4x400 ถ้ามีทีมแข่งขันไม่เกิน 5 ทีม ให้ไม้แรกวิ่งโค้งเดียว แล้วตัดเข้าช่องในได้


การแข่งขันวิ่งข้ามรั้ว


            นักกีฬาจะต้องวิ่งข้ามรั้วทั้งหมด 10 ครั้ง ตลอดระยะทางการแข่งขัน
          สิ่งต้องห้าม :  วิ่งข้ามรั้วเพียงขาข้างเดียว และห้ามใช้มือผลักดันรั้วหรือใช้ขาเจตนาถีบรั้วให้ล้ม

 การแข่งขันประเภทลาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้  
          1. การแข่งขันประเภทกระโดด ได้แก่ กระโดดสูง, เขย่งก้าวกระโดด, กระโดดสูง, กระโดดค้ำถ่อ
          2. การแข่งขันประเภททุ่ม พุ่ง ขว้าง ได้แก่ ทุ่มน้ำหนัก, ขว้างจัก, ขว้างฆ้อน, พุ่งแหลน

การแข่งขันกระโดดไกล


          การแข่งขัน นักกีฬากระโดดในขั้นที่ดีที่สุดของแต่ละคน จะถือเป็นสถิติ รวมทั้งตัดสินเสมอกันของอันดับที่ 1 ด้วย นักกีฬากระโดดลงในบ่อทรายแล้วต้องออกไปข้างหน้าหรือด้านข้างเท่านั้น

การแข่งขันเขย่งก้าวกระโดด
          ประกอบด้วยเขย่ง การก้าว และการกระโดด การเขย่งจะต้องใช้เท้าเดียวกับที่เหยียบกระดานลงสู่พื้น
          จะต้องกระโดดด้วยเท้าข้างเดียว สามารถกระโดดได้ไม่เกิน 3 ครั้ง จะหมดสิทธิ์ในการแข่งขันความสูงต่อไป นักกีฬาที่ชนะเลิศสามารถเลือกความสูงได้ตามต้องการ

การแข่งกระโดดค้ำถ่อ


         หากกระโดดไม่ผ่าน 3 ครั้ง ถือว่าหมดสิทธิ์ ห้ามใช้ผ้ายางพันมือหรือนิ้วมือ ยกเว้นบาดเจ็บการแข่งขันในขั้นที่ดีที่สุดถือว่าเป็นสถิติ 
   

การแข่งขันทุ่มน้ำหนัก


         นักกีฬาเข้าแข่งขันมากกว่า 8 คน การแข่งขันคนละ 3 ครั้ง ผู้ทำสถิติดีที่สุดทำการแข่งขันรอบสุดท้ายถ้าไม่เกิน 8 คน คนละ 6 ครั้ง ทำการฝึกซ้อมได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ต้องทุ่มภายในบริเวณวงกลม ลูกน้ำหนักต้องทุ่มออกไปจากไหล่ด้วยมือข้างเดียว โดยลูกน้ำหนักต้องสัมผัสหรืออยู่ชิดคาง และมือต้องไม่ลดต่ำกว่าไหล่เลยไปด้านหลัง ขณะจะทุ่มลูกน้ำหนักออกไป


      การฟาล์ว เมื่อเข้าไปในวงกลมเพื่อทำการทุ่มแล้วสัมผัสภายนอกวงกลมหรือขอบบนของไม้ขวาง หรือขอบบนไม้ขวางหรือขอบบนของวงกลม จะต้องวางอุปกรณ์ไว้ด้านนอกหรือภายในวงกลมแล้วเดินออกด้านหลัง
  1. ห้ามใช้ผ้ายางพันนิ้ว มือ 2 นิ้วหรือมากกว่าเข้าด้วยกันยกเว้นบาดเจ็บ
  2. ห้ามสวมถุงมือ 
  3. ห้ามฉีดสเปรย์หรือสารบางอย่างในวงกลมหรือรองเท้า
  4. สามารถใช้สารทามือได้ 
  5. สามารถคาดสายเข็มขัดหนังหรืออุปกรณ์อื่นที่จำเป็นว่าเหมาะสม เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ ของกระดูกได้
  6. ลูกน้ำหนักต้องอยู่ภายในเส้นรัศมี และต้องไม่ออกจากวงกลมจนกว่าลูกทุ่มน้ำหนักจะตกถึงพื้น


การขว้างจักร


        จักรจะต้องตกภายในเส้นรัศมีเท่านั้น ห้ามออกนอกวงกลม จนกว่าจักรจะตกถึงพื้นครั้งแรกสมบูรณ์แล้ว และต้องไม่ฉีดสเปรย์หรือสารบางอย่างในวงกลมหรือรองเท้า ห้ามใช้ผ้ายางพันนิ้ว มือ 2 นิ้วหรือมากกว่าเข้าด้วยกันยกเว้นบาดเจ็บ สามารถคาดสายเข็มขัดหนังหรืออุปกรณ์อื่นที่จำเป็นว่าเหมาะสม เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกระดูกได้ ส่วนจักรที่ขว้างออกไปแล้ว ห้ามขว้างกลับมาให้ถือกลับมาที่วงกลม และห้ามออกนอกวงกลมจนกว่าจักรถึงเส้น


การขว้างฆ้อน


         ฝึกซ้อมได้ไม่เกิน 2 ครั้ง การขว้างเริ่มจากในวงกลม เมื่อเหวี่ยงสัมผัสพื้นดิน หรือขอบของวงกลมจะไม่ถือว่าฟาล์ว แต่ถ้าหลังจากสัมผัสพื้นดินหรือขอบเหล็กแล้วเขาหยุดการหมุนจะถือว่าฟาล์ว เมื่อเข้าไปในวงกลมห้ามสัมผัสพื้นดินนอกหรือขอบวงกลมจะถือว่าฟาล์ว ถ้าเกิดหลุดหรือขาดกลางอากาศไม่ถือว่าฟาล์ว ส่วนถ้าเสียหลักจนเกิดการฟาล์ว จะถือว่าการประลองครั้งนั้นไม่นับเช่นกัน ตัวฆ้อนต้องตกภายในรัศมี ห้ามออกนอกวงกลมจนกว่าฆ้อนจะตกถึงพื้น นอกจากนี้ อุปกรณ์ที่ขว้างไปแล้วห้ามขว้างกลับให้ถือกลับมา


การพุ่งแหลน


  • ต้องจับตรงที่จับ การพุ่งจะต้องพุ่งออกไปเหนือไหล่หรือเหนือแขนท่อนบน 
  • ห้ามใช้วิธีเหวี่ยงหรือขว้าง หรือมุ่งด้วยท่าพลิกแพลงอื่น ๆ
  • การที่หัวแหลนที่เป็นโลหะไม่ได้ถูกพื้นก่อนส่วนอื่น ๆ ของแหลน ถือว่าการแข่งขันไม่มีผล 
  • หากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือแขนขา ถูกไม้โค้งหรือเส้นที่ลากต่อจากปลายของส่วนโค้ง ถือว่าการแข่งขันไม่ได้ผล 
  • หากแหลนหักในระหว่างพุ่งให้ทำการแข่งขันใหม่แหลนพุ่งแล้วห้ามพุ่งกลับ


การแข่งขันเดิน


          ลักษณะการเดินที่ถูกต้อง ก่อนยกเท้าหลังจากพื้นเท้าหน้านำ ต้องสัมผัสพื้นก่อนด้วยส้นเท้า เมื่อเท้าหน้านำ สัมผัสพื้นแล้วต้องตึงชั่วขณะจนกว่าจะอยู่แนวตั้งฉากกับลำตัว


► การตัดสิน

          นักกีฬาผู้ได้คะแนนสูงสุดเป็นผู้ชนะ ถ้าเสมอกันให้ผู้เข้าแข่งขันมากประเภทกว่าเป็นผู้ชนะ ถ้ายังเสมอกันอยู่อีก ก็ให้ถือคะแนนที่มากกว่าในประเภทใดประเภทหนึ่งเป็นผู้ชนะ ส่วนนักกีฬาใดไม่ประลองในประเภทใดประเภทหนึ่ง ให้ถือว่าหมดสิทธิ์ในการแข่งขันต่อไป ต้องออกจากสนามทันที
อ้างอิง : https://hilight.kapook.com/view/72001

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น